ประวัติความเป็นมาและสภาพปัจจุบัน
มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุลเปิดดำเนินการ เมื่อปี พ.ศ. 2527 มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ในช่วงที่ยังเป็นวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัยให้เปิดดำเนินการสอนในระดับปริญญาตรีและเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2537 รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยโดยคำแนะนำของคณะกรรมการสถาบันอุดมศึกษาเอกชนได้อนุญาตให้วิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล เปลี่ยนประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชนเป็นมหาวิทยาลัยฯ และเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เปิดดำเนินการสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรีถึงระดับปริญญาเอก
สำนักบริการการศึกษาจัดตั้งขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในมหาวิทยาลัยโดยการยุบ สำนักทะเบียนและประเมินผลการศึกษากับสำนักวิชาการทั้งสองสำนักฯที่ยุบรวมเทียบเท่าศูนย์ฯโดยมีหัวหน้าศูนย์ฯเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ ก่อนตั้งสำนักบริการการศึกษาต้องย้อนประวัติทั้งสองสำนักฯ เริ่มต้นที่สำนักวิชาการ ขณะที่วิทยาลัยฯจัดตั้งใหม่ๆสำนักวิชาการยังไม่ได้จัดตั้งเป็นสำนักฯ แต่ได้ดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุนด้านการจัดการเรียนการสอน การประสานงานให้กับทุกคณะวิชา โดยรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการทำหน้าที่เป็นผู้ประสาน กำกับ ดูแล ให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา ในด้านหลักสูตร ด้านการเรียนการสอน และด้านติดตามประเมินผล แบ่งโครงสร้างการบริหารออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายหลักสูตร ฝ่ายการจัดการเรียนการสอน ฝ่ายติดตามประเมินผลโดยและมีที่ทำการรวมอยู่กับสำนักทะเบียนและประเมินผลการศึกษา จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2545 จึงได้รับการจัดตั้งเป็นสำนักวิชาการเป็นหน่วยงานเทียบเท่าคณะวิชามีผู้อำนวยการสำนักฯ กำกับดูแลรับผิดชอบ และมีรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการเป็นผู้บังคับบัญชาโดยหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดิม
หน่วยงานลำดับต่อมาคือสำนักทะเบียนและประเมินผลการศึกษาเริ่มจัดตั้งพร้อมวิทยาลัยเปิดดำเนินการแต่เป็นสำนักทะเบียนและธุรการ มีหน้าที่รับขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ เพิ่ม-ถอนรายวิชาตรวจสอบผลการศึกษาตามหลักสูตรของแต่ละคณะวิชา และอนุมัติผลการสำเร็จการศึกษารับคำร้องที่เกี่ยวกับงานบริการด้านวิชาการและทะเบียนประวัตินักศึกษางานด้านการเงิน จนกระทั้งปี พ.ศ. 2531 ได้รับการจัดตั้งเป็นสำนักทะเบียนและประเมินผลการศึกษาโดยหน้าที่ภารกิจยังเหมือนเดิมยกเว้นงานด้านการเงินให้สำนักงานอธิการบดีเป็นผู้รับผิดชอบจนกระทั้งปี พ.ศ. 2550 มีการเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารภายในมหาวิทยาลัยฯเพื่อการบริหารงานมีประสิทธิภาพจึงส่งผลให้สำนักทะเบียนและประเมินผลการศึกษาและสำนักวิชาการยุบหน่วยงาน ให้เทียบเท่าศูนย์ฯโดยทั้งสองศูนย์ฯอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักบริการการศึกษาโดยมีผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบส่วนภารกิจและหน้าที่ความรับผิดชอบทั้งสองศูนย์ฯเหมือนเดิมทุกประการ
1.2 ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์พันธกิจ วัตถุประสงค์ และแผนงาน
1.2.1 ปรัชญา
“จริยธรรม นำปัญญา”
1.2.2 ปณิธาน
“ มุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านการบริการ”
1.2.3 วิสัยทัศน์
“ ส่งเสริมวิชาการ บริการประทับใจ ”